หน้าเว็บ

วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

กาแฟลดความอ้วน...(ผอม)จอมปลอม!?


กาแฟลดความอ้วน...(ผอม)จอมปลอม!?



ท่ามกลางกระแสความต้องการ "ผอม" ดังนั้นเมื่อใดก็ตามที่มีข่าวคราวยาดีหรือของวิเศษที่ช่วยลดน้ำหนักหรือลดความอ้วนได้อย่างทันใจ ก็จะเป็นที่นิยมของคนคลั่งผอมได้เสมอ และยอมทุ่มสุดตัวหวังจะผอมเพรียวดั่งใจ จึงมีนักธุรกิจหัวใสสร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมาจาก "กาแฟ" ซึ่งเป็นเครื่องดื่มยอดนิยมของคนทั่วโลก โดยโฆษณาว่าเป็นสูตรผสมผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดต่างๆ เช่น โสม ไฟเบอร์ เกลือแร่ มาเชื่อมโยงกับสุขภาพและการควบคุมน้ำหนัก
ผลิตภัณฑ์ "" เป็นจำนวนมากอ้างว่าได้เพิ่มเติมสารอาหารบางอย่างที่ช่วยให้ลดความอ้วน เช่น ไฟเบอร์ ที่ช่วยเพิ่มกากอาหาร คอลลาเจน พบได้ในเนื้อสัตว์ และจะถูกย่อยเป็นโปรตีนขนาดเล็กก่อนถูกดูดซึมเหมือนโปรตีนทั่วไป แอล-คาร์นิทีน และโครเมียม ซึ่งไม่มีผลต่อการลดน้ำหนักแต่อย่างใด ล้วนแต่เป็นการอวดอ้างโฆษณาเกินจริงทั้งสิ้น เพราะยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่ยืนยันว่าสารเหล่านี้มีคุณสมบัติลดความอ้วนได้
นอกจากนี้ สิ่งหนึ่งที่ทำให้ผู้บริโภคหลงเชื่อคือเครื่องหมาย อย. ซึ่งผู้ผลิตหลายรายอ้างว่าได้ผ่านการตรวจสอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้ว ซึ่งการได้เครื่องหมาย อย. นั้นจะหมายความว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจัดเป็นอาหารหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (ไม่ใช่ยา) และรับรองว่าได้ผ่านการผลิตตามหลักการผลิตที่ดีแล้ว (ผลิตมาอย่างมีสุขลักษณะ) เป็นการควบคุมขั้นตอนการผลิตที่ถูกสุขลักษณะเท่านั้น และไม่ได้มีสรรพคุณเหมือนหรือเทียบเท่ากับยาที่จะสามารถลดน้ำหนักหรือลดความอ้วนได้ ดังที่ได้โฆษณาหรือแอบอ้าง
ยิ่งไปกว่านั้นยังมีรายงานข่าวว่าทาง อย. ได้เข้าจับกุมผลิตภัณฑ์กาแฟที่เติม "ยาลดความอ้วน" ลงไปในกาแฟ ซึ่งเมื่อนำไปตรวจพบว่าเป็นยา "ไซบูทรามีน" (sibutramine) ซึ่งเป็นยาลดความอ้วนที่มีอันตรายสูงถึงชีวิต ในทางกฎหมายจัดเป็นยาควบคุมพิเศษที่จะต้องจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น ไม่สามารถหาซื้อได้ในร้านขายยาทั่วไป
ทั้งนี้ ผลข้างเคียงของยา "ไซบูทรามีน" ที่พบบ่อย ได้แก่ ความดันโลหิตสูง และหัวใจเต็นเร็ว ปากแห้ง ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ และท้องผูก และห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด ผู้ป่วยที่ควบคุมความดันโลหิต ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ ผู้ป่วยโรคตับ ผู้ป่วยโรคไต ผู้ที่มีโรคต้อหิน รวมไปถึงหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร
ขณะที่บทความทางการแพทย์ รายงานว่า เครื่องดื่มมีส่วนสำคัญในการทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น หรือครึ่งหนึ่งของความอ้วนเกิดจากเครื่องดื่ม และปัจจุบันมีเครื่องดื่มหลากหลายรูปแบบ ทั้งชนิดที่เป็นชา สมุนไพร กาแฟ ซึ่งมีการปรุงสี กลิ่น รส และในจำนวนนั้นก็มีน้ำตาล ครีม ตลอดจนสารปรุงรสอื่นๆ ที่ช่วยให้เข้มข้นน่ากิน ซึ่งล้วนเป็นต้นเหตุของความอ้วนทั้งสิ้น
สรุปว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีเครื่องหมาย อย.ไม่ได้หมายความว่ามีคุณสมบัติในการรักษาโรคได้ และย้ำว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เช่น กาแฟ ถึงแม้จะผสมสารอาหารใดๆ ก็ตาม ไม่มีคุณสมบัติในการลดความอ้วนได้ ตรงกันข้ามอาจทำให้เกิดโทษต่อสุขภาพได้ ถ้าบริโภคมากเกินไปหรือไม่เหมาะสม อาจต้องทนทุกข์กับผลข้างเคียงของยาอันตรายที่ลักลอบเติมมาในผลิตภัณฑ์เหล่านั้นด้วย ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้
อย่างไรก็ตาม การลดความอ้วนด้วยยาควรอยู่ในความดูแลของแพทย์เพื่อประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการใช้ยาดังกล่าว แต่สำหรับการลดความอ้วน วิธีง่ายๆ ก็คือการออกกำลังกายเป็นประจำ ครั้งละประมาณ 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง นอกจากจะเผาผลาญพลังงานแล้ว ยังช่วยขับเหงื่อ เลือดไหลเวียนได้ดียิ่งขึ้น เป็นการพักผ่อนและผ่อนคลายทั้งกล้ามเนื้อและอารมณ์ได้อย่างดี เมื่อกลับไปพักผ่อนก็ช่วยให้นอนหลับได้สนิทยิ่งขึ้น เมื่อตื่นขึ้นมาก็จะสดชื่นและทำงานในวันใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก http://men.sanook.com/

วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ยาที่ไม่ควรกินคู่กัน

ยาที่ไม่ควรกินคู่กัน
หากคุณมั่นใจว่าผู้ป่วยเลือดจาง ต้องกินอาหารเสริมในกลุ่มธาตุเหล็กให้มาก "คุณคิดผิด" หมอกฤษดาแจกแจงคู่ยา "มิตร-ศัตรู" ให้เข้าใจกันชัดๆ

“Good things come in pair” ดังวลีฝรั่งนี้ที่บอกว่าของทุกอย่างมีคู่แฝดอยู่เสมอ อาจเป็นแฝดเหมือนหรือแฝดต่างก็ได้ ซึ่งก็พ้องกับทางพระที่ว่า กุสลาธัมมา อกุสลาธัมมา และโลกธรรมแปดที่เล่าถึงคู่แห่งสัจธรรมในโลกนี้ มีสุขแล้วก็มีทุกข์ มีสรรเสริญก็ย่อมมีนินทา มีลาภก็ย่อมมีเสื่อมลาภได้ดังนี้เป็นต้น

ดังนั้น ในเรื่องของโอสถรักษาโรคก็ย่อมต้องมีคู่แฝดของมัน ที่ต้องมีทั้งแฝดที่ดีและแฝดที่ร้ายคล้ายเทวากับซาตานซึ่งเคยมีกรณีที่ถึงแก่ชีวิตมาแล้ว ซึ่งโดยมากมักเกิดจาก “ความไม่รู้” ในฤทธิ์อันไพศาลของยาแต่ละเม็ดที่กินอยู่ โดยเราจะค่อยมาดูกันไปทีละแฝดครับ

แฝดที่ดี
เสมือนคู่บุญยิ่งรู้จักกินให้เสริมกันก็จะยิ่งช่วยเสริมสุขภาพหรือทำการรักษาโรคให้ท่านได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น และที่จริงก็ควรกินคู่กันเสียด้วยเพราะเรื่องของยาอาหารเสริมนี้มีหลักคือทำงานร่วมกัน โดยกลุ่มที่ควรกินร่วมกันช่วยเสริมให้ดีมีดังต่อไปนี้ครับ

1) วิตามินซีกับคอลลาเจน จะช่วยกันสร้างเนื้อเยื่อใหม่ให้ใสปิ๊งปั๊งไม่เหี่ยวหย่อนย้อย

2) ธาตุเหล็กกับวิตามินซี กินธาตุเหล็กให้ดีดูดซึมเข้าไปใช้ได้ ไม่ใช่กินเข้าไปอย่างไรถ่ายออกมาหน้าตาเหมือนเดิมนั้น ต้องกินคู่กันอย่างเช่นถ้าจะกินเลือดหมูให้ได้ธาตุเหล็กก็ควรกินกับผักที่มีวิตามินซีสูงเช่นใบตำลึงก็จะดีไม่น้อยครับ

3) แคลเซียมกับแมกนีเซียม แคลเซียมจะดูดซึมได้ดีต้องมี “ตัวช่วย” พามันเข้าไปได้แก่แมกนีเซียม, วิตามินดีและวิตามินเคด้วยซึ่งอยู่ในแสงแดดและผักเขียวจัดตามลำดับ

4) วิตามินเอ,ซีและอี พยายามกินไปด้วยกันเป็นดี หรือสูตรที่ดีคือกินซีเพียงตัวเดียวส่วนเอกับอีนั้นกินเอาจากผักคะน้าและถั่วลิสงสักวันละกำมือ

5) น้ำมันปลา(ไม่ใช่น้ำมันตับปลา)ขอให้เลือกชนิดที่มี ดีเอชเอคู่กับกับอีพีเอ ยิ่งมากหน่อยยิ่งดีอย่างน้อยกินให้ได้ค่า ดีเอชเอ+อีพีเอ = 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน โดยมีเคล็ดไว้ว่าถ้าอยากบำรุงสมองต้องเลือกชนิดที่มีดีเอชเอเด่น แต่ถ้าจะให้บำรุงส่วนอื่นเป็นหลักเช่นข้ออักเสบให้เลือกชนิดที่มีอีพีเอสูงด้วยครับ 

แฝดที่ร้าย
แฝดตัวนี้ถือเป็นระดับ “ตัวแม่” ที่น่ากลัวกว่าเยอะมากครับ เพราะอาจทำให้เกิดเลือดออกในสมองจนเป็นอัมพาตหรือหัวใจวายแน่นิ่งไปได้ จึงอยากชวนให้ท่านที่รักมาสนใจในยาที่ไม่ควรกินร่วมกันสักนิดดังนี้ครับ

1) น้ำมันปลากับแอสไพริน คู่ร้ายอันดับแรกโดยน้ำมันปลานี้มีฤทธิ์ช่วยให้เลือดใสไม่หนืดเหนียว ส่วนแอสไพรินก็มีฤทธิ์เดียวกันคือช่วยให้ไม่เกิดลิ่มเลือดจับแข็งเป็นก้อนตัน เมื่อกินคู่กันเลยกลายเป็นคู่สังหารพาลให้เลือดไหลพรวดพราดไม่หยุด แม้การกรอฟันเพียงนิดก็อาจทำให้เลือดออกได้ราวกับผ่าตัดใหญ่แล้วครับ

2) วิตามินอีและอีฟนิ่งพริมโรส มีคนไข้ที่อยากผิวสวยมาหาพร้อมบอกว่ามีคนแนะให้กินวิตามินอีแต่บ้างก็ให้เลือกเป็นอีฟนิ่งพริมโรสแทนจะเลือกอย่างไรดี จึงได้บอกไปให้เลือกอย่างหนึ่งก็พอเพราะล้วนแต่มีวิตามินอีทั้งนั้นซึ่งถ้าได้มากไปอาจทำให้เกิดหัวใจพิบัติแทน

3) แคลเซียมเสริมกับแคลเซียมสด ถ้าท่านกินงาดำได้วันละ 4 ช้อนโต๊ะหรือเต้าหู้ขาวแข็งวันละ 3 ขีดก็จะได้แคลเซียมราว 1,000 มิลลิกรัมอยู่แล้ว ซึ่งถ้าไปหาแคลเซียมเม็ดมากินเติมอีกจะทำให้แคลเซียมเกินและไปจับกับหลอดเลือดทำให้ตีบแข็งได้

4) กาแฟกับแคลเซียม ขอให้เลี่ยงกินแคลเซียมร่วมกับกาแฟเพราะกาแฟจะไปยับยั้งการดูดซึมแคลเซียมนอกจากนั้นยังไปดึงแคลเซียมออกจากกระดูกอีกด้วย

5) ธาตุเหล็กกับเลือดจางธาลัสซีเมีย เป็นไม้เบื่อไม้เมากันทีเดียว ขอให้ลืมความเชื่อที่ว่าถ้าเลือดจางต้องกินธาตุเหล็ก ไม่เสมอไปครับ หากท่านเป็นเลือดจางชนิดธาลัสซีเมียแล้วไปกินธาตุเหล็กเสริมจะเท่ากับเติมยาพิษให้กับหัวใจและตับตัวเองครับ

ทั้งแฝดดีแฝดร้ายนี้ที่จริงมีอีกมากซึ่งผมได้เคยเขียนไว้ในหนังสือแล้วและก็ตั้งใจจะเขียนไว้เรื่อยๆเป็นตอนต่อไปในคอลัมนี้ แต่สำหรับที่เลือกมาให้เห็นนั้นเป็นตัวอย่างที่พบบ่อยหน่อยครับและท่านจำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที

เมื่อถึงตอนนี้ขอให้ท่านหยิบเอาร่วมยาออกมาสังคายนาแยกวางเป็นชนิดไปบนโต๊ะแล้วจัดเป็นกลุ่มไว้ว่ากลุ่มใดรักษาโรคไหนแล้วบางทีจะเกิดพุทธิปัญญาทีเดียวว่าตูข้ากินยามากเกินความจำเป็นไปเพียงใด แต่นั่นก็ยังไม่ร้ายเท่ากินยาที่ดันไปเสริมฤทธิ์กันให้เป็นพิษเข้าไปเสียอีก

ดังนั้น ท่านจะเห็นว่าการกินยานั้นมีข้อหยุมหยิมอยู่มากเมื่อเทียบกับกินอาหารธรรมชาติที่โอกาสเกิดการผสมกันเป็นพิษน้อย เพราะมีส่วนประกอบสำคัญอยู่ในปริมาณที่ไม่เข้มข้นมากเท่ายาเคมี แต่อย่างไรก็ดีคงต้องยึดหลักที่ว่าหูไวตาไวถ้ารู้สึกว่า “ไม่ใช่” แล้วก็ให้รีบเร่งบอกอย่าปล่อยให้เลยตามเลยไว้นานเลยครับ

*** นพ.กฤษดา ศิรามพุช, พบ.(จุฬาฯ) ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ drkrisda@gmail.com

ข้อมูลจาก - หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

"นม" อันตรายที่เราคาดไม่ถึง


 เบื้องพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนชาวกาลามะความว่า "อย่าปลงใจเชื่อ โดยการ ฟังตามกันมา โดยการถือสืบ ๆ กันมา โดยการเล่าลือ โดยการอ้างตำรา โดยตรรก โดยการอนุมาน โดยการคิดตรองตามเหตุและผล อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้ากันได้ กับทฤษฎีของตน และอย่าเชื่อ เพราะท่านสมณะนี้ เป็นครูของเราแต่เมื่อใด ท่านรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศลปฏิบัติถึงที่แล้ว จะเป็นไปประโยชน์เมื่อนั้นท่านพึงถือ ปฏิบัติบำเพ็ญธรรมเหล่านั้น"

สมเด็จพระราชบิดาทรงประทานคำสอนแก่ผู้เป็นแพทย์ว่า " ข้าฯ มิเพียงต้องการ ให้พวกเธอ เป็นหมอ แต่จงมีความเป็นมนุษย์ด้วย "

ความเป็นหมอคือผู้มีความคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ และความเป็นมนุษย์ก็คือผู้มีใจสูง
แท้จริงแล้ววิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่เคลื่อนไหว ไม่ตายตัว ต้องติดตามงานค้นกว้า และสะสมบทเรียนใหม่ ๆ อยู่เสมอผู้ใดที่หยุดนิ่ง ผู้นั้นก็ล้าหลังเขาแล้ว
สิ่งที่จารจารึกในตำราแพทย์มิใช่จะถูกต้องทั้งหมด สิ่งที่ถูกต้องเวลาหนึ่งอาจผิดในอีกเวลาหนึ่งก็ได้
ครับ นมวัว ได้ลงหลักปักฐานในประเทศไทยในระยะ 20 ปีมานี้ มีการยกย่องนมวัวว่า เป็นอาหารสมบูรณ์แบบ คนไทยได้เพิมอัตราการดื่มนม 10 เท่าตัว ควบคู่กับการกินเนื้อสัตว์ล้นเกิน แต่ลดอัตราการกินข้าว และกินผักสดผลไม้ คนไทย จึงอ้วน 25-30 % ไขมันเลือดสูง 50 % ของผู้ที่อาศัยอยู่ในเมือง เป็นภูมิแพ้ 12 ล้านคน คนไทย ตายด้วยโรคหัวใจ หลอดเลือดเป็นอันดับแรก และตายด้วยโรคมะเร็ง เป็นอันดับที่สอง ทั้งนี้เพราะ วิถีการกิน ที่เปลี่ยนไป เป็นแผนการกินแบบตะวันตก คือเน้นหนักการกินเนื้อ นม ไข่
เบื้องหน้าปัญหาใหม่ ๆ ถ้าใครที่มีหัวคิดอันเป็นวิทยาศาสตร์ ไม่ต้องถึงกับเป็นแพทย์ก็ได้ แต่สำคัญ คือเป็นผู้มีใจสูง ใจกว้าง ไม่ยุดติดเพียงสิ่งที่ถือต่อ ๆ กันมา เขียนมาในตำรา ก็น่าที่จะได้ค้นคว้าเพิ่มเติมว่า มีอะไรที่ผิดพลาดบ้าง ในวิถีการกินของผู้คนชาวไทย มีอะไรที่ควรแก้ไข ในคำสอนบางประการ ของผู้ทำหน้าที่เกี่ยวกับ สุขภาพของประชาชน
เราน่าจะใช้จิตใจของชาวพุทธ ใช้กาลามสูตรพิเคราะห์ข้อเท็จจริงใหม่ ๆ ดูบ้างหรือไม่
สรรพสิ่งที้งหลายย่อมมี 2 ด้าน นมได้รับการเผยแพร่ในด้านดีมามากแล้ว โดยเฉพาะในยุคที่คนไทยขาดอาหาร แต่ปัจจุบันเมื่อสังคมแปรเปลี่ยน
ผลด้านกลับของการดื่มนมก็น่าที่จะหยิบยกกันขึ้นมาพิจารณาในอีกด้านหนึ่งบ้าง

นมก่อให้เกิดภูมิแพ้
เราคงจำกันได้ว่า เมื่อสมัยที่นมสดเริ่มแจกกันตามโรงเรียนใหม่ ๆ สัก 30 ปีที่แล้ว แจกตอนเช้า บ่ายนั้น ห้องส้วม ที่โรงเรียนก็แทบจะพัง เพราะอาการท้องเสีย นั่นคือปรากฏการณ์ใกล้ตัวที่สุด แท้จริงแล้ว นมก่อให้เกิด มูกเมือก ในร่างกาย ด้วยปฏิกิริยาภูมิแพ้ ทำให้ไซนัสอักเสบและหอบหืด เรื่องนี้ยืนยนในรายงานนับชิ้นไม่ถ้วน เช่น น.พ. ซามี มาห์นา ใน Advances in Pediatrics, Vol 25, 1978 งานของเจ.ดับบลิว. เกอราร์ด ใน Canadian Medical Association, Vol I, Mar 1971 ในประเทศไทย ศาสตราจารย์กิตติคุณ เสาวนีย์ จำเดิมเผด็จศึก ก็รายงาน การพบ การแพ้อาหาร ของเด็กกลุ่มใหญ่ ปรากฏว่าเกิดจากการแพ้นมวัวเป็นส่วนใหญ่ ตามด้วยไข่และปลา การแพ้ พบมากใน 0-3 ขวบ รวมทั้งนักวิจัยชื่อ Bock SA. ใน Pediatrics 1987,79:683-8 สารสำคัญที่ทำให้แพ้คือ เคซีน และ Beta lactogloblin อาการมีมากน้อยตามแต่ละบุคคล

นมเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อไขมันเลือดสูง โรคหัวใจ
ประเด็นนี้ตรงไปตรงมาอย่างยิ่ง ด้วยการที่มีไขมันอิ่มตัว มีคอเลสเตอรอล และไม่มีเส้นใย นมจึงเป็นปัจจัยเสี่ยง ต่อโรคไขมันเลือดสูง โรคความดันเลือดสูง และโรคหัวใจอยู่แล้ว
ลองฟังเรื่องราวต่อไปนี้ คุณสัมพันธ์ป่วยด้วยโรคไขมันเลือดสูง มีความดันเลือดสูง และมีภาวะหัวใจขาดเลือด ในบางครั้ง ได้รับยาหัวใจมาตลอด 10 ปี ร่วมกับยาลดไขมัน และยาลดความดันรวม 4-5 ขนาน
คุณสัมพันธ์เล่าว่า "ไขมันผมเคยสูงอยู่เสมอ ๆ หมอให้ผมทานยาลดไขมัน ผมอดอาหารประเภทไขมัน 100% แต่ดื่มนมจืดพร่องมันเนยวันละ 1 กล่อง ครบเดือนทีก็ไปเช็ก ปรากฏว่าไขมันขึ้นอยู่ตลอด"
คุณสัมพันธ์เปลี่ยนอาหารเป็นธรรมชาติ ซึ่งก็คืออาหารพื้นถิ่นแบบไทย ๆ เขาเล่ามาในจดหมายดังนี้ครับ
"ผมกินข้าวกล้อง ซื้อผลไม้ใส่ตู้เย็นไว้ กาแฟไม่ทาน ผมเลิกกาแฟ-นม-น้ำอัดลม ผลก็ปรากฏว่า น้ำหนักของผม ค่อยลดลงได้ถึง 9.5 ก.ก. ในเวลาไม่กี่เดือน ผมงดยาลดไขมัน ทิ้งมันไปอย่างไม่เสียดาย แต่กลับสามารถ ลด คอเลสเตอรอลลงได้จาก 322 มก% เหลือ 214 มก% แสดงว่านมโกหกเรา" คุณสัมพันธ์ยังสามารถ ลด ยาความดันเหลือนิดเดียว
กรณีคุณสัมพันธ์เป็นตัวอย่างอันดีของคนไทยจำนวนมากในขณะนี้ที่ดื่มนมด้วยคิดว่าดีมีประโยชน์ แต่ต้องผจญ กับผลเสียโดยทั้งตัวเองและแพทย์ผู้รักษาก็คาดคิดไม่ถึง โดยเฉพาะคำว่า "นม พร่องไขมัน" มักมีแรงจูงใจ ให้คนหลงดื่ม
ปัญหาไขมันในเลือดสูงปัจจุบันแพร่ระบาดในเด็กด้วย งานวิจัยของ น.พ.ดร.ประสงค์ เทียนบุญสำรวจปี 2538 ในกลุ่มที่มีฐานะดี เรียนโรงเรียนเอกชน พบผลดังนี้คือ

เด็กอายุ
คอเลสเตอรอล > 170 mg%
คอเลสเตอรอล >200 mg%
<6 ปี
25%
5%
6-15 ปี
70%
10-20%


เป็นที่รู้ดีว่าอาหารของเด็กฐานะดีในสังคมเมืองคือ ฟาสต์ฟู้ดแบบตะวันตก นมและผลิตภัณฑ์นม รวมทั้งอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ

นมเพิ่มความเสี่ยงการเป็นมะเร็ง

น.พ. มิกเกล ฮินด์ฮีด ผู้รับผิดชอบอาวุโสสถาบันวิจัยโภชนาการแห่งชาติเดนมาร์ก เมื่อปี 1917-1918 เดนมาร์ก กำลังเผชิญวิกฤตเพราะถูกปิดล้อมในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 เขาได้โน้มน้าวให้รัฐบาล เดนมาร์ก เบนเข็ม จากการผลิตนมเนย ในใช้ที่ดินปลูกพืชไร่สนองธัญพืชให้คน เป็นผลให้คนเดนมาร์ก ยุคสงคราม ได้กินข้าว บาร์เลย์ ข้าวราย มันฝรั่ง แทนการดื่มนมบริโภคเนย ปรากฏว่า อัตราการเกิด โรคมะเร็ง ลดลงฮวบฮาบถึง 34% (JAME 74:381-82,1920)
ปี 1978 คากาวาตั้งข้อสังเกตว่า ชาวญี่ปุ่นที่โอกินาวามีคนอายุยืนกว่าร้อยปีจำนวนมาก คนเหล่านั้น กินอาหาร พื้นถิ่น "ข้าวกล้อง " ผัก เต้าหู้ ปลา สาหร่าย แต่ไม่ดื่มนมเนย เขาศึกษาพบว่า ช่วงเวลา 25 ปี หลังญี่ปุ่นแพ้ สงคราม คือ 1950-1975 ชาวญี่ปุ่นดื่มนมเพิ่มขึ้น 15 เท่า กินเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้น 7.5 เท่า ลดการกินข้าวลง 70% ผลก็คือ หญิงชาวญี่ปุ่น ป่วยเป็นมะเร็งปอด เต้านม และลำไส้ใหญ่ เพิ่มขึ้นจากเดิมกว่า 3 เท่าตัว (Preventive Medicie, 7:205-17)
ที่สหรัฐ ดร.แคเธอรียน โวเดกี ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ สหรัฐอเมริกา ชี้ไว้ในปี 1992 ว่า "หลักฐานศึกษามากมายยืนยันว่า การกินอาหารไขมันสูงสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งเต้านม และแหล่งใหญ่ของกรดไขมันอิ่มตัว ในอาหารอเมริกัน ก็คือ ผลิตภัณฑ์นมและเนื้อสัตว์ (Eat for life, Academy press:1992)
หลังสุด การประชมวิชาการโดยกองทุนวิจัยมะเร็งโลก (WCRF) และสถาบันวิจัยมะเร็งโดยรวมได้แก่ แอลกอฮอล์ เกลือ อาหารเค็ม เนื้อแดง ไข่ อาหารปิ้ง ย่าง เผา อาหารไขมันจากสัตว์ คอเลสเตอรอล นมและผลิตภัณฑ์นม น้ำตาล กาแฟ สารเจือปน อาหาร บุหรี่ โรคอ้วน ฯลฯ มีนักวิชาการบางคนบอกว่า ข้อสรุปของ การประชุมครั้งนั้น "เป็นเพียงอาจเป็นไปได้เท่านั้น" จากนั้นก็เริ่มหาเหตุผลแวดล้อม ต่าง ๆ อีกมากเพื่อยืนยันความเชื่อในทฤษฎีของตน ที่ว่าประชาชนจะต้องดื่มนมต่อไป
ถึงตรงนี้จะเห็นได้ว่า นมวัวนอกจากเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งของร่างกายแล้ว ปัญหาที่ใหญ่กว่านั้น ก็คือการติดยึด ในความดีด้านเดียวของนม ยังก่อให้เกิดมะเร็งความคิดในหมู่ผู้คนอีกด้วย
แต่ปัจจุบันประชาชนมีการศึกษาแล้ว ขอแต่ให้มีข้อมูลอันทั่วด้านกว่าที่เคยเป็นอยู่ ผู้บริโภค ย่อมใช้วิจารณญาณเองได้
สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไร้ตนดังนั้นจึงมีความว่างเป็นสาระ ความไม่รู้ ความจริงนี้ทำให้จิตเกิดการปรุงแต่งสร้างงเรื่องราวคุณค่าและความหมายขึ้น จนเกิดเป็นความยึดมั่นถือมั่น ซึ่งเป็นสาเหตุแห่งทุกข์
การดื่มนมวัวในประเทศไทยก็มีเหตุปัจจัยของมัน เริ่มจากฝรั่งมาทำวิจัยพบว่าคนไทยขาดอาหาร ขาดโปรตีน และแคลอรี่ เมื่อ 20 กว่าปีมาแล้วจึงมีการส่งเสริมให้กินเนื้อ นม ไข่ ในระยะแรก นมอยู่ในฐานะ ที่เป็น โปรตีน และแคลอรี่ (ไขมัน)

ต่อมาเพื่อขยายตลาดให้กว้างขวางประเด็นเรื่องนมเป็นแหล่งของแคลเซียม จึงได้รับการเน้นย้ำ
แท้จริงการที่ฝรั่งดื่มนมเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ เพราะวัฒนธรรมเดิมของฝรั่งเป็น "ชาวทุ่ง" มีชีวิต อยู่กับปศุสัตว์ ไม่ว่าสวิตเซอร์แลนด์ซึ่งไม่ติดทะเลเลย หรืออังกฤษประเทศเกาะแท้ ๆ แต่ถูกไวกิ้งครอบครอง ทะเลเหนือ ไม่กล้าออกไปจับปลาหาแหล่งอาหารโปรตีนอื่น เมื่อชาวอังกฤษไปตั้งรกรากที่ออสเตรเลียและ อเมริกา ก็ไปเจอกับแผ่นดินกลม ๆ ที่เป็นท้องทุ่งทั้งนั้น ผลคือ ฝรั่งยุโรป อเมริกา และออสเตรเลีย ฝากปากท้อง ไว้กับเนื้อ นม และไข่จากฟาร์มเป็นสรณะ ครั้นเมื่อสูงอายุ ก็เผชิญปัญหากระดูกผุ ฝรั่งค้นหาแหล่งง อาหารแคลเซี่ยม มองไปรอบตัวก็พบแต่นมวัวเท่านั้นที่พอจะพึ่งได้ ฝรั่งจึงนิยมดื่มนมตั้งแต่เกิดจนตาย
ลองวิเคราะห์อาหารฝรั่งก็จะรู้ว่าเขาขาดแหล่งแคลเซียมจริง ๆ ถ้าไม่ดื่มนมตามตารางที่ 1
ตารางที่ 1
อาหารมื้ อเที่ยง
แคลเซียม(ม.ก.)
อาหารเย็น
แคลเซียม(ม.ก.)
แฮมเบอร์เกอร์ 1 อัน
199
ซุปหัวหอม 1 ถ้วย
25
เฟรนซ์ไฟราย 1 ซอง
18
สเต๊กเนื้อ 1 จาน
202
สลัดไก่ 1 จาน
34
สลัดผักผลไม้
20
รวม
251
รวม
307
(Guide to the Food You Eat, BD&L,Newyork 1994)


ถ้าวันหนึ่งๆ คนปกติควรได้ 800 ม.ก. แคลเซียม ฝรั่งกินทั้ง 3 มื้อยังไงก็ไม่ครบปริมาณที่ร่างกายต้องการ (มื้อเช้า ขนมปังกาแฟ แทบจะไม่มีแคลเซียมเลย) เหตุนี้เองเขาจึงต้องดื่มนมวัวอีก 250-300 ม.ก./แก้วไปชดเชย แต่อาหารเหล่านี้ที่เขาดื่มกินก็ทำให้เสี่ยงต่อแคลอรีและไขมันล้นเกิน
เมื่อฝรั่งเข้ามาเป็นที่ปรึกษาปัญหาโภขนาการในไทย จึงแนะนำตามฐานทางภูมิปัญญาทางตะวันตก ให้คนไทย ดื่มนม และคนไทยก็รับความเชื่อนี้ไปโดยดุษณี อาจเพราะคนไทย ในขณะนั้น ก็ยังขาดฐานข้อมูลเกี่ยวกับ ปริมาณสารอาหารพื้นถิ่นของเรา  กว่าที่กองโภชนาการ กรมอนามัยจะได้  ส่วนคุณค่าอาหารไทย ออกมาได้ก็เป็นปี 2530

ครับ ข้างต้นนี้ถือเอาการวิเคราะห์ด้วยใจเป็นธรรมทางสังคมวิทยา โดยไม่ได้เอาเบื้องหน้า เบื้องหลัง ของผลประโยชน์ ทางธุรกิจของผลิตภัณฑ์นม มาเกี่ยวข้องด้วยนะครับ
ากปี 2530 เป็นต้นมา แม้คนไทยจะเริ่มมีฐานข้อมูลของสารอาหารมาแล้ว แต่ที่น่าเสียดาย คือยังไม่มี นักวิชาการ คนใด หยิบยกประเด็นเรื่องความจำเป็นต้องดื่มนมหรือไม่ขึ้นมาพิจารณา เหตุผลมีหลายประการ
ประการหนึ่ง ด้วยการดื่มนมได้ลงรากทั้งทางวิชาการ และมีการโหมโฆษณา เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ จนกลายเป็นกระแสอัน X วกราก เป็นกรอบความคิดที่ยากจะหลุด เมื่อมีความคิดใหม่ใด ๆ ตัวแทน องค์ความรู้ เก่า จะโลดเข้าปกป้องแนวความคิดเดิมอย่างไม่ลังเลใจ

ประการหนึ่ง ด้วยไม่เชื่อว่าปริมาณแคลเซียมในพืชผัก ร่างกายจะดูดซึม ไปใช้ได้ นั่นคือ พืชผักมีสารไฟเตต มาก ไฟเตต จะกีดกันการดูดซึมแคลเซียม ดังที่ฝรั่งหรือครูบาอาจารย์ให้ข้อมูลไว้
ประการหนึ่ง ด้วยไม่คิดว่าคนไทยจะกินอาหารไทยได้ปริมาณเพียงพอ การประเมินอาหารใด ๆ จากตัวแทน องค์ความรู้เดิม จะใช้ความคิดที่ว่า "อย่างไรเสียคนไทยก็ต้องดื่มนม" เป็นตัวตั้งไว้เสมอ แล้วพยายามประมวลเหตุผลต่าง ๆ เข้าแวดล้อมตัวตั้งนั้น ๆ 
อย่างไรก็ดี ในยุคสมัยที่ไอเอ็มเอฟเข้ากัดกินในประเทศไทย ประชาชนกำลังเดือดร้อน การแสวงหาความเป็น "ไทย" ในความหมายที่มิใช่เพียงชื่อประเทศไทย แต่หมายรวมถึงความเป็น "ไท" ทั้งทางเศรษฐกิจ ทางวัฒนธรรม และทางความคิด ล้วนเป็นสิ่งจำเป็น

ถามตัวเราเองก่อนว่า นมวัวให้คุณประโยชน์ใดบ้าง
คำตอบก็คือ ให้ไขมัน โปรตีน และแคลเซียม เรื่องของไขมัน ไขมันในนม เป็นกรดไขมันอิ่มตัว ทั้งยังมี คอเลสเตอรอล อีกจำนวนหนึ่ง เพราะเป็นผลิตผลจากสัตว์ จึงมิใช่สิ่งพึงประสงค์ 
โปรตีนในนม ก็เป็นที่ยืนยันจากหลายงานวิจัยว่า คนเอเซียโดยส่วนใหญ่แพ้โปรตีนในนม และเป็นเหตุของ โรคภูมิแพ้ในอัตราสูง จึงเหลือเหตุผลเรื่อง แคลเซียม จากฐานข้อมูลใหม่พบว่าอาหารไทยนับสิบชนิด มีปริมาณแคลลเซียมต่อหน่วยน้ำหนัก มากกว่านมอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นพืชผัก ถั่ว งา กุ้ง ปลากรอบ กะปิ ปัญหาที่ต้องตอบให้ได้ก็คือ ถ้าเรากินอาหารไทย จะได้แคลเซียมพอเพียงหรือไม่

ประเด็นแรกคือเรื่องไฟเตตในพืช มันขัดขวางการดูดซึมแคลเซียมจริงหรือ องค์การด้านโภชนาการเสนอมาตลอดว่า ไฟเตตขัดขวางการดูดซึม จึงไม่อาจหวังแคลเซียมจากพืชผักได้มากนัก นี่เป็นข้อสงสัยและวิจัยกันมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 ถึง 2 (E.Mellanby 1925 -R A McCance 1942)
แต่ปี 1962 องค์การ FAO และ WHO ก็รายงานว่าการกินอาหารข้าวกล้องและอาหารหยาบ ที่มีไฟเตตมาก ในชุมชนต่าง ๆ ทั่วโลก เอาเข้าจริง ๆ แล้ว ไม่พบการขาดแคลเซียม จากกระดูกของคนพื้นถิ่นเหล่านั้นเลย
เชื่อว่าคนที่กินอาหารไฟเตตสูงจะมีการปรับตัวโดยสร้างเอนไซม์คอยทำลาย ไฟเตต ก่อนที่มันจะไปจับแคลเซียม หรือมิฉะนั้นร่างกายมีวิธีการแยกแคลเซียมออกจากไฟเตต แล้วดูดซึมสู่ร่างกายได้ (Calcium Requirements, WHO Technical Reries No 230) นี่นับเป็นเรื่องน่าเชื่อถือมากกว่า
การที่นักวิชาการขององค์การโภชนาการ นำเสนอเหตุผลเรื่องไฟเตตในพืชผัก ขัดขวาง การดูดซึม แคลเซียม ช่างเป็นการเลือกเสนอข้อมูลด้านเดียวให้กับประชาชนเสียนี่กระไร จะมีเหตุผลจูงใจ ประการใดก็สุดที่จะเดา
ประเด็นหลังคือ จะกินอาหารไทยเพื่อได้แคลเซียมตามต้องการได้หรือไม่ คำตอบจากคู่มือ การประเมินอาหาร ขององค์การโภชนาการตอบในตัวว่า ไม่ได้
ในที่นี้มี 2 เรื่องน่าพิจารณา หนึ่งคือความคิดชี้นำ ถ้าคนประเมินตั้งใจเสียแต่แรกว่า "อย่างไรเสียคนไทยก็ต้องดื่มนม" การประเมินย่อมเพี้ยนไปในทางที่เป็นผลลบ ยกตัวอย่างเช่น การบริโภคงาดำต่อครั้ง กำหนดไว้ที่ 1 ช้อนชานั้น เท่าปริมาณที่ใช้โรยหน้าขนมไหว้พระจันทร์เท่านั้นแหละครับ หารู้ไม่ว่าปัจจุบันผู้รักสุขภาพเขาใช้งาดำโรยข้าว ครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะพูนอยู่แล้ว
อีกเรื่องหนึ่งคือ มาตรฐานช้อนตวงของนักวิชาการผู้ประเมิน ไม่ทราบว่าเป็นอย่างไร ช่างต่างจากช้อนตวง ของชาวบ้านเหลือเกิน ตัวอย่างกุ้งแห้ง 1 ช้อนโต๊ะของนักวิชาการได้กุ้งเพียง 6 กรัม แต่ช้อนโต๊ะของ ชาวบ้าน ตวงจริง ๆ แล้วจะได้กุ้งแห้ง 10-15 กรัมแล้วแต่แห้งมากหรือน้อย อย่างไรก็ดี ถ้าเริ่มต้นความคิดเสียใหม่ว่า "เป็นไปได้ไหม ที่คนไทยจะไม่ต้องดื่มนม" และช่วยกันคบคิด อาหารให้คนไทย ก็จะได้ตาราง รับแคลเซียม/ครั้ง/คน ดังตารางที่ 2

ตารางที่ 2
ปริมาณอาหารบริโภคต่อครั้ง
แคลเซียม
กุ้งแห้ง 1 ชต. (15 ก. ข้าวคลุกกะปิ 1 จาน)
345
กะปิ 15 กรัม (น้ำพริกกะปิ)
235
งาดำคั่ว 1 ชต. พูน (12 ก.โรยข้าว, ข้าวต้ม)
174
กุ้งฝอย 20 กรัม (ชุบแป้งทอด 1 ชิ้น)
268
เต้าหู้ขาว ฝ แผ่น (ผัดเต้าหู้, แกงจืด)
122
ผัดผักโขม 100 ก.
341


จะเห็นได้ว่าในอาหารของเรามีแคลเซียมมากกว่าอาหารฝรั่งเป็นก่ายกอง ทีนี้ถ้าจะลองจัดเป็นอาหาร สักสำรับหนึ่ง สำหรับครอบครัว 4 คน กิน 1 มื้อ อาจปรากฏภาพดังตารางที่ 3

ตารางที่ 3
อาหาร
ส่วนประกอบ
แคลเซียม(ม.ก.)
แกงจืดเต้าหู้
เต้าหู้ขาว 1 ถ้วยใช้เต้าหู้ 100 กรัม
245
กุ้งชุบแป้งทอด
กุ้งฝอย 200 กรัม
2,678
ผักโขมไฟแดง
ผักโขม 500 กรัม
1,705
ข้าวกล้องโรยงาดำ
งาดำ 4 ช้อนโต๊ะโรยข้าว 4 จาน
516
เมี่ยงคำอาหารว่าง
ใบชะพลู 20 ใบ. กุ้งแห้ง 40 ตัว
กุ้งแห้งป่น 20 ก. (น้ำราด), กะปิ 20 ก.
1,353
รวมปริมาณแคลเซียมสำหรับ 4 คน/มื้อ
6,497
เฉลี่ยแคลเซียมที่ได้รับ/คน/ต่อมื้อ
1,624


เหตุฉะนี้เอง คนไทยจึงไม่จำเป็นต้องดื่มนม ถ้ารู้จักกินกุ้งแห้ง ปลากรอบ เต้าหู้ งาดำคั่ว กะปิ ยิ่งยุคไอเอ็มเอฟ เราเสียเงินซื้อนมวัว ปีละหลายหมื่นล้านบาท มาส่งเสริมอาหารไทย แคลเซียมสูงกันดีกว่าไหม
เมื่อก่อนนี้คนไทยไม่เคยดื่มนม ก็ยังส่งเสริมกันจนดื่มกันวันละลิตร ถ้าเราตระหนักในปัญหา ของประเทศชาติ จะช่วยกันส่งเสริมอาหารไทยแทนได้หรือไม่
โดยสรุป นมจึงเหมาะสำหรับคนที่ไม่มีฟันคือ ทารก และพวกเขาก็ควรดื่มนมมารดา โตขึ้น ก็กินอาหารอื่นแทน ส่วนใครจะดื่ม นมถั่วเหลือง ก็ตามใจ มันเป็นอาหารพื้นถิ่น ที่ชาวบ้านปลูกเองได้ และเป็นแหล่งโปรตีนที่ดี ก็น่าจะส่งเสริม
ถึงตรงนี้ถ้ายังไม่สบายใจที่จะ "หย่านม" กันอีก ก็มีหลักฐานประการสุดท้าย ที่พิสูจน์ว่า คนไทยกินอาหารพื้นถิ่นแล้วแข็งแรง โดยไม่ต้องดื่มนมคือ หลักฐานก่อนประวัติศาสตร์ ที่บ้านเชียง
ศ.น.พ. สุด แสงวิเชียร รายงานไว้ว่า บรรพบุรุษไทยที่นั่นสูง 170 ซ.ม. ทุกโครงมีกระดูกแข็งปั๋ง ไม่มีกระดูกผุ ขุดค้นเท่าไหร่ ก็ไม่เจอซากนมกล่อง ยูเอชทีแต่ประการใด พบแต่ ก้างปลา เปลือกหอย และกระดูกสัตว์ 
ฟังบรรพบุรุษของเราบ้างเถอะครับ


ขอบคุณข้อมูลจาก :  http://www.elib-online.com/doctors/milk_cancer2.htm

วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กินอย่างไรให้สุขภาพดี



 กินอย่างไรให้สุขภาพดี ? "มีเคล็ดลับสุขภาพดีมาบอก!!"
มีคำถามจากคนที่ห่วงใยสุขภาพค่ะว่า กินอย่างไรให้สุขภาพดี ? สำหรับคำถามที่ว่า "กินอย่างไรให้สุขภาพดี ?" นั้นเราก็มีคำตอบมาฝากกันด้วยค่ะ แต่ไม่ใช่คำตอบที่ธรรมดานะค่ะ แต่เป็นเคล็ดลับสุขภาพดีที่จะช่วยให้ทุกคนนั้นมีสุขภาพที่ดีและแข็งแรงมากยิ่งขึ้นค่ะ เอาล่ะค่ะใครที่อยากมีสุขภาพดีแข็งแรงก็ต้องมาดูเคล็ดลับ กินอย่างไรให้สุขภาพดี ? นี้กันเลยดีกว่าค่ะ เราเชื่อว่าคนที่รักในสุขภาพต้องไม่พลาดกับเคล็ดลับ กินอย่างไรให้สุขภาพดี ? นี้อย่างแน่นอนใช่ไหมล่ะค่ะ
เคล็ดลับกินอย่างไรให้สุขภาพดี
1. ลองเมนูใหม่ๆ
สำหรับใครที่นึกไม่ค่อยออกว่าจะกินอะไรดีและสุดท้ายก็ต้องลงเอยด้วยเมนูแบบเดิมๆ ซ้ำๆ กันเป็นประจำทุกวัน คุณรู้หรือเปล่าว่าการที่คุณกินอาหารซ้ำๆ กันทุกวันอย่างนี้จะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอได้นะคะ ถ้าใน 1 วันคุณสามารถเลือกกินอาหารที่มีหลากหลายหมวดหมู่อย่างผัก ผลไม้ ถั่ว เมล็ดพืช และไขมัน จะช่วยให้ร่างกายได้รับวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้นได้ค่ะ
2. หาเวลาเข้าครัวทำอาหาร
การที่คุณลงมือทำอาหารกินเองที่บ้านจะช่วยให้คุณสามารถควบคุมส่วนผสมต่างๆ ให้เป็นไปตามที่ต้องการได้ต่างจากการไปกินข้าวนอกบ้าน ซึ่งคุณจะไม่มีทางรู้เลยว่าปริมาณและส่วนผสมต่างๆ ที่ใส่เข้าไปมีอยู่เท่าไหร่ อาจทำให้คุณกินอาหารเข้าไปในปริมาณที่มากกว่าปกติก็เป็นได้ นอกจากนี้การเข้าครัวทำอาหารก็เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างคนในครอบครัวได้ด้วยนะ ก็แหมลองนั่งนึกภาพดูสิคะว่า หากเจ้าน้องชายจอมซ่ากำลังช่วยกันจัดโต๊ะส่วนน้องสาวอีกคนก็ช่วยคุณเตรียมส่วนผสมและคนที่เหลือก็อาสาช่วยกันล้างจานดูช่างเป็นภาพที่น่าเอ็นดูสุดๆ เลยจริงมั้ยคะ
3. กินธัญพืช
เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าธัญพืชสามารถช่วยป้องกันคุณจากโรคเรื้อรังต่างๆ ได้ เช่น โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด โรคลม โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคมะเร็ง อีกทั้งยังมีคุณสมบัติช่วยต่อสู้กับคอเลสเตอรอลได้อีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้นธัญพืชยังอุดมไปด้วยไฟเบอร์ซึ่งจะช่วยทำให้คุณอิ่มท้องได้นานโดยไม่จำเป็นจะต้องหาของจุกจิกกินอยู่บ่อยๆ
4. กินของว่างระหว่างมื้อ
รู้หรือไม่ว่าการที่คุณกินมื้อเล็กๆ แทรกระหว่างวันจะเป็นการช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารเพิ่มขึ้นด้วยละ เพราะคุณจะได้รับวิตามินและเกลือแร่ที่ร่างกายต้องการนอกเหนือไปจากอาหารมื้อหลักๆ ทั้ง 3 มื้อ อีกทั้งการกินของว่างระหว่างมื้อก็เป็นการช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่เพิ่มพลังงานให้กับร่างกายและทำให้อารมณ์ดีขึ้นด้วยค่ะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.n3k.in.th, www.campus.sanook.com
ภาพประกอบจาก www.health.kapook.com

วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

อย.เตือนอย่าหลงเชื่อ "น้ำมันรำข้าวและจมูกข้าว" อ้างรักษาได้ทุกโรค



อย.เตือนอย่าหลงเชื่อน้ำมันรำข้าวและจมูกข้าว โวสรรพคุณ รักษาสารพัดโรค (กระทรวงสาธารณสุข)

          อย.เตือนผู้บริโภค อย่าตกเป็นเหยื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร "น้ำมันรำข้าวและจมูกข้าว" อ้างสรรพคุณรักษาโรคมะเร็ง หัวใจ รูมาตอยด์ ภูมิแพ้ อัมพฤกษ์ เบาหวาน ความดัน เป็นต้น อาจทำให้เสียโอกาสในการรักษาที่ถูกต้อง ย้ำ! ผลิตภัณฑ์อาหารไม่ใช่ยารักษาโรค หากจะใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารควบคู่ไปกับการรักษา ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด และอย่าเชื่อโฆษณาเกินจริงที่หวังผลทางการค้ามากเกินไป


          นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ตรวจสอบเกี่ยวกับการโฆษณาน้ำมันรำข้าว โดยได้รับการร้องเรียนจากสมาคมขายตรงเกี่ยวกับการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารน้ำมันรำข้าว และจมูกข้าว โดยระบุสรรพคุณ รักษาโรคมะเร็ง หัวใจ รูมาตอยด์ ภูมิแพ้ อัมพฤกษ์ เบาหวาน ความดัน เป็นต้น มีการอ้างผลการทดสอบจากผู้รับประทาน และประสบการณ์จากผู้ป่วยที่ต่อสู้กับโรคร้ายต่าง ๆ ซึ่งจากการตรวจสอบไม่มีข้อเท็จจริงทางวิชาการยืนยันถึงความน่าเชื่อถือ และเอกสารที่ปรากฏน่าจะเป็นการตัดต่อข้อมูลของกลุ่มสมาชิกผู้จำหน่ายสินค้า ซึ่ง อย. ได้แจ้งเตือนไปยังผู้ทำการโฆษณาให้ระงับการโฆษณา และดำเนินการตามกฎหมายต่อไปแล้ว 

          อย่างไรก็ตาม อย.มีความห่วงใยในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก เพราะที่จริงแล้วผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเป็นเพียงผลิตภัณฑ์ที่ใช้รับประทานเสริม นอกเหนือจากการรับประทานอาหารหลักตามปกติเท่านั้น จึงขอให้ผู้บริโภคอย่าได้หลงเชื่อซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพราะมุ่งหวังรักษาโรคโดยเด็ดขาด อาจทำให้เสียโอกาสในการรักษาที่ถูกต้อง เช่น ผู้ป่วยเบาหวานอาจต้องตัดเท้า ผู้ป่วยมะเร็งมีอาการทรุดหนัก เป็นต้น 

          หากจะใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารควบคู่ไปกับการรักษา ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด และไม่ควรหลงเชื่อโฆษณาที่หวังผลทางการค้ามากเกินไป ทั้งนี้ โฆษณาส่วนใหญ่ เป็นการจำหน่ายในลักษณะขายตรง ซึ่งบางราย บางเครือข่ายอาจหาประโยชน์ที่ผิดกฎหมายในลักษณะแชร์ลูกโซ่ จึงขอให้ผู้ประกอบธุรกิจขายตรงดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรมจริยธรรม

          เลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า ก่อนซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใด ๆ ก็ตาม ขอให้ผู้บริโภคเลือกซื้อโดยอ่านข้อมูลของอาหารนั้นบนฉลากทุกครั้งว่า มีสารอาหารอะไรตามที่ร่างกายขาด หรือต้องการเสริม แต่หากผู้บริโภคพบเห็นการอวดอ้างสรรพคุณผลิตภัณฑ์เสริมอาหารว่า สามารถรักษาโรคได้ หรือโฆษณาหลอกลวงให้ผู้บริโภคหลงเชื่อโดยการขายตรง ขอให้แจ้งเบาะแสโดยละเอียดผ่านสายด่วน อย. 1556 สำหรับในส่วนภูมิภาคแจ้งได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เพื่อทางราชการจะได้ดำเนินการตามกฎหมายกับผู้กระทำผิดอย่างเข้มงวดต่อไป 


อ้างอิงข้อมูลจาก 
- กระทรวงสาธารณะสุข

วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

เทรนด์สุขภาพ ในปี 2013


มายด์แชร์ (Mindshare)  เอเเย่นซี่ด้านการตลาดและการสื่อสาร เผยผลสำรวจเทรนด์สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี  ในปี  2013 “Health & Wealthness 2013″  พบว่าคนไทยให้ความสำคัญกับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีอย่างชัดเจนแต่ใช้ชีวิตสวนทาง  เช่น ออกกำลังกายน้อยลง  ทานผักผลไม้น้อยลง  เนื่องจากวิถีคนเมืองมีมากขึ้นในประเทศ  เร่งรีบจากการทำงาน  และเวลาจึงกลายเป็นสิ่งมีค่า  มีผลให้กระแสความงามที่มาซื้อได้รวดเร็วเป็นที่นิยมมากกว่าพฤติกรรมการออกกำลังกาย   8 เทรนด์สุขภาพ และ วิธีการสื่อสารกับผู้่บริโภคแต่ละเทรนด์  มีดังนี้
1. ความอ้วนกลายเป็นปัญหาที่พบทั่วไป (OBESITY BECOMING MAINSTREAM)
ถึงแม้คนไทยจะตระหนักถึงเรื่องสุขภาพแต่ก็ยังไม่ได้ดูแลสุขภาพอย่างจริงๆ จากการศึกษาพบว่า มีเพียง 26% ในกลุ่มผู้ใหญ่ที่ออกกำลังการอย่างสม่ำเสมอ เมื่อเทียบกับ 30% ในปี พ.. 2550  อัตราการรับประทานผักและผลไม้ 51% ในปี 2551 ลดลงเหลือ 43% ในปี 2555  ในขณะที่เทรนด์ความสวยอย่างรวดเร็วโดยใช้ศัลยกรรมความงามและคลีนิคความงามเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง และการใช้ชิวิตแบบคนเมืองกลายเป็นการใช้ชีวิตที่ไม่เสริมสร้างสุขภาพที่ดี ในขณะที่มีความเสี่ยงเพิ่มในการเป็นโรคเช่นความดันสูงและโรคหัวใจ โดย คาดว่าประเทศไทยจะมีผู้ที่มีปัญหาความอ้วนประมาณ 24 ล้านคนในปี พ.. 2558 (แบ่งเป็น 18.8 ล้านคนที่มีน้ำหนักเกิน และ 5.6 ล้านคนเป็นคนอ้วน) เทียบกับผู้ที่มีปัญหาความอ้วนประมาณ  22 ล้านคนในปี พ.ศ. 2553 (แบ่งเป็น 17.7ล้านที่มีน้ำหนักเกิน และ 5.6 ล้านคนที่เป็นคนอ้วน)
สำหรับนักการตลาดในการวางแผนและการสื่อสาร :  ไม่ยอมเจ็บตัวเพื่อความสวย  ความเห็นของคนรอบข้างมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเป็นส่วนใหญ่   ในแง่การสื่อสาร แบรนด์จะต้องเข้ามาเสมือนเพื่อนแนะนำเพื่อน
2. ความเครียดกลายเป็นปัญหาที่น่ากังวลกว่าความอ้วน (STRESS, THE NEW OBESITY)
ประเทศไทยเป็นประเทศที่ผู้บริหารมีความเครียดอยู่ในอันดับ 5 จาก 39 ประเทศอุตสาหกรรมของโลกในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา  โดยพบว่า ปัญหาความเครียดมาจาก ปัจจัย คือ 1) การเงิน 2) หน้าที่และความก้าวหน้าในการงาน 3) ความไม่แน่นอนทางการเมือง 4)ปัญหาครอบครัว 5) สิ่งแวดล้อม    ในขณะที่เด็กวัยรุ่นมีความเครียดและรู้สึกกดดันสูงขึ้น จากการวิจัยของ ส... เมื่อปลายปี 2554พบว่า วัยรุ่นกว่า 1 ล้านคนมีความรู้สึกซึมเศร้าอย่างไม่มีสาเหตุ โดยกว่าครึ่งล้านคนมีความเครียดสูงจนเกิดอาการปวดท้อง และอาเจียน และหนึ่งในสามของเด็กเหล่านี้ใช้ยาลดน้ำหนักและทำศัลยกรรมความงามเพื่อให้ผอมและดูสวยงาม
สำหรับนักการตลาดในการวางแผนและการสื่อสาร : ชอบตัดสินใจเองเชื่อมั่นใจความคิดตนเอง   ยอมจ่ายถ้าได้ผลดีจริง  ในแง่การสื่อสารจะต้องสื่อสารให้ข้อมูลที่ความน่าเชื่อถือหรือแสดงความเป็นผู้เชี่ยวชาญ
3. กลุ่มผู้สูงวัยจะกลายเป็นกลุ่มหลักในกระแสสุขภาพ (AGEING POPULATION)
คนไทยมีแนวโน้มที่จะมีอายุยืนขึ้น และกลุ่มผู้สูงวัยจะเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุดในอีก8 ปีข้างหน้า (สังคมผู้สูงอายุ)  และจะเป็นกลุ่มสำคัญที่ทำให้ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มสุขภาพเติบโต  ธุรกิจที่จะเติบโตและมีแคมเปญการตลาดเจาะกลุ่ม Baby Boomer มาก คือธุรกิจเกี่ยวกับสุขภาพ โดยเฉพาะโรงพยาบาล การดูแลสุขภาพ และอาหารเสริม ที่คาดว่ามูลค่าของธุรกิจนี้จะเติบโตได้ถึง 20-30%เพราะโอกาสของธุรกิจมาจากพฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่มนี้ ที่ตัดสินใจซื้อง่าย โดยเน้นให้ตัวเองสุขภาพดี มีลมหายใจอยู่นานที่สุด 
4. แน้มโน้มประชากรโสด อยู่คนเดียว และดูแลตัวเองได้ดีมีสูงขึ้น (INDEPENDENT SINGLES)
จากการศึกษาพบว่า 37% ของคนไทยมีสถานะโสด หย่า และหม้าย ในขณะที่ อีก 45% ไม่มีลูก โดยพบอีกว่าอัตราของคน โสด หย่าร้าง หรือแต่งงานแต่ไม่มีลูก มีจำนวนเพิ่มขึ้น ดังนั้นคนไทยจะหันมาใส่ใจกับการเป็นอยู่ในรูปแบบที่ตอบความต้องการของตัวเองมากขึ้น
 5. กระแสความงามและสุขภาพดีแบบไม่ต้องรอ (NOWISM)
พฤติกรรมการใช้ชีวิตแบบคนเมืองและความสวยงามตามกระแสสังคม  ทำให้ยุคนี้เป็นยุคทองของความงามแบบสั่งซื้อได้ ไม่ต้องรอ และสวยได้ทันตา ดังนั้นธุรกิจความงาม การทำศัลยกรรมใบหน้า จะได้รับความนิยมอย่างมาก จากรายงาน Culture Vulture ของมายด์แชร์ ความงามกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับวัยรุ่นตอนปลายเมื่อสัมภาษณ์งานและเชื่อว่ามีผลกับการรับเข้าทำงานในบริษัท
 สำหรับนักการตลาดในการวางแผนและการสื่อสาร : ชอบสินค้าที่แก้ไขได้อย่างทันที เห็นผลเร็ว  ซึ่งต้องใช้งานง่ายสะดวกและใหม่  โดยเซเลบคนดังจะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ  ในแง่การสื่อสารจะต้องเข้าไปในฐานะพี่แนะนำน้อง
6. สูงสุดคืนสู่สามัญ (BACK TO BASIC)
จากการศึกษาพบว่าคนไทยโดยเฉพาะผู้ใหญ่และวัยทำงาน  จะหันไปให้ความสนใจกับผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ คาดว่าสมุนไพรและผลิตภัณฑ์ที่มาจากความรู้พื้นบ้านจะมีอัตราเจริญเติบโตไปถึง 14,000 ล้านบาทในปี 2558 จาก 12,000 ล้านบาทในปี 2555   นอกจากนี้ยังจะมีกลุ่มที่มองหาวิถีชิวิตทางเลือกอื่นๆ อันเนื่องมาจากต้องการหนีจากการใช้ชีวิตที่วุ่นวาย หันมาใช้ชีวิตแบบสบายๆ  รวมถึงปัจจัยจากกลุ่มผู้สูงวัย และผลจากการเติบโตของชีวิตคนเมือง
สำหรับนักการตลาดในการวางแผนและการสื่อสาร : ชอบความสมบูรณ์แบบ  สินค้าจะต้องบริสุทธิ์ ไร้สารพิษออแกนิค เป็นธรรมชาติ   ซึ่งสิ่งที่พวกเขาเชื่อก็คือ ส่วนผสมหรือองค์ประกอบได้รับการพิสูจน์จากสถาบันฯแล้ว  ในแง่การสื่อสารจะต้องมีตัวเลขหรือสถิติใช้ในการอ้างอิงพวกเขา
 7. ผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพจะเข้าใกล้ผลิตภัณฑ์ที่เราใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น (PRODUCT BLURRING)
ผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพเช่นวิตามินอาหารเสริม จะพบว่ากลายเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น  เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เติมวิตามิน เติมแร่ธาตุต่างๆ   อีกทั้งมีแนวโน้มได้รับความนิยมจากผู้บริโภคยิ่งมากขึ้น
สำหรับนักการตลาดในการวางแผนและการสื่อสาร :  ไม่ชอบกินอะไรจริงจัง กินเพื่อชดเชยเท่านั้น   ความใหม่ รสชาติใหม่ จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ  ในแง่การสื่อสารจะต้องเข้าไปเสมือน Innovator
8. เทคโนโลยีเอื้อต่อการรักษาสุขภาพที่ดีของประชากรด้วยตัวเอง (TECHNOLOGY ETC.)
พบว่า จากจำนวนผู้ใช้อินเตอร์เนตที่เพิ่มมากขึ้น และเทคโนโลยีต่างๆ   ช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพได้ง่าย นอกจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว ยังได้ข้อมูลจากผู้ที่มีประสบการณ์ตรง  รวมถึงช่องทางการซื้อขายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพก็ขยายตัวสู่ช่องทางออนไลน์ ทั้งนี้การใช้โทรศัพท์มือถือยิ่งทำให้เปิดรับข่าวสารได้ตลอดเวลา แอพพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟนก็มีหลากหลายที่เกี่ยวกับการดูแลและตรวจเช็คสุขภาพ  ตัวอย่างเช่น  App Doctor Me , App Samitivej


อ้างอิงข้อมูลจาก  http://www.brandbuffet.in.th/2013/01/health-welthness-trends-2013/